โอโซน (Ozone หรือ O3) คือ ก๊าซที่ประกอบไปด้วยออกซิเจน 3 อะตอม ซึ่งทุกๆ 10 ล้านโมเลกุลในบรรยากาศที่ความสูงระดับ 10 – 50 กิโลเมตร จะพบว่ามีโอโซนอยู่ที่ประมาณ 3 โมเลกุลเท่านั้น และโอโซนนี้เรียกว่าเป็นก๊าซออกซิเจนที่มีพลังซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงได้ดีกว่าคลอรีนมากถึง 3,125 เท่าเลยทีเดียว โดยโอโซนนี้จะทำการแยกย่อยสลายของโมเลกุลในสารปนเปื้อนต่างๆ และแม้ว่าโอนโซนจะเป็นก๊าซที่มีโครงสร้างไม่เสถียร แต่เมื่อแปรสภาพกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจนแล้วก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ ไม่ว่าจะทั้งกับคน, สัตว์ หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีการนำโอโซนมาใช้กันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ อุตสาหกรมมเกษตร-การแปรรูปอาหาร สำนักงาน ที่อยู่อาศัย การบำบัดน้ำเสีย และสถานที่ที่ต้องการความปลอดเชื้อสูง เป็นต้น
– เกิดจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงในอากาศเช่น แสงอาทิตย์, ฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า เป็นต้น โดยจะมีรังสียูวีที่คอยเปลี่ยนโครงสร้างของออกซิเจน(O2)ให้เป็นโอโซน (O3)
– ความเข้มข้นของโอโซนสูงจากการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง
– การใช้รังสียูวีจะสร้างก๊าซโอโซนให้มีความเข้มข้นที่ไม่สูงมากนัก หรือในช่วงคลื่น 185 นาโนเมตร
– เราสามารถผลิตโอโซนเข้มข้นขึ้นได้เอง จากอากาศทั่วไปและไฟฟ้า
– ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็วและดีมากๆ
– ช่วยยับยั้งและทำลายการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกับเชื้อแบคทีเรีย
– กำจัดไรฝุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้
– กำจัดยุง ไล่หนูและแมลงสาบ
– สลายก๊าซพิษ มลพิษต่างๆ ในอากาศได้ดี ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์
– ช่วยในการฟอกสีและบำบัดน้ำเสียให้น้ำสะอาดและใสขึ้น
– ไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในอากาศ
– หลังจากอบโอโซนแล้ว จะได้อ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น เป็นผลพลอยได้ ซึ่งดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม